Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ชวนคุย ถามถึงแนวของEnter Books ^^

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ชวนคุยค่ะ คือเราก็เป็นคนหนึ่งที่ส่งนิยายโครงการ โชว์ของ ประลองเขียน Ep 5

แต่ว่าเรายังไม่เคยอ่านหนังสือโดยนักเขียนไทย ของ Enter มาก่อนเลยค่ะ

ถึงจะอยากรู้ว่า แนวของ Enter รึ กลุ่มตลาดของ Enter ประมาณไหน

แต่เพราะส่งไปแล้วแหละค่ะ 5555 ก็คงทำอะไรไม่ได้

พอดีเราโดนทักน่ะค่ะ ว่างานเราใช้คำยาก 5555

เราเป็นคนติดนิยายแปล และชอบพวกคำเก่าๆ พวกภาษาเขียนที่ใช้สำหรับบรรยายเท่านั้นน่ะค่ะ

ปรากฎว่า เจอน้องๆ ทักว่า ไม่รู้ความหมาย TT

ปกติแล้วกลุ่มตลาดของ Enter นี่ประมาณไหนคะ เด็กๆ วัยรุ่นอะไรแบบนี้หรือเปล่า

ปล. สรรพางค์กาย รู้จักคำนี้กันไหมคะ? คุ้นไหม?

เช่น เจ็บปวดไปทั่วสรรพางค์กาย 



แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

Esta Em Maho 19 ก.พ. 59 เวลา 20:55 น. 1-1

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

สรรพางค์
[สันระพาง] น. ทั้งตัว ทั่วตัว
มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย
เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย สารพางค์ ก็ว่า
(แต่เราเจอ สรรพางค์กาย บ่อยกว่า คือเจอแบบเซตเลย เลยพอเดาออกตอนอ่านว่าน่าจะหมายถึงทั่วตัว ทั้งตัว 555 ทั่วร่างกายอะไรแบบนั้น ตอนเจอครั้งแรกนะคะ)

องคาพยพ นี่เราเพิ่งเจอเมื่อไม่นานมานี้เองค่ะ สารภาพ หรือว่าเป็นคำที่กลับมาฮิตใหม่ >< 5555

0
+ หนูคือตุ๊ดป่า + 19 ก.พ. 59 เวลา 23:44 น. 1-2

สรรพางค์กายรู้จักค่ะ บางคนพอเคยได้ยินจากบทเรียนภาษาไทยมาบ้าง
แต่องคาพยพนี่ทำเราฉุกนึกนิดหนึ่ง 555555 จากคู่มือเกมเดอะซิมส์สอง นานแล้ว

0
อมราวตี 20 ก.พ. 59 เวลา 00:37 น. 2

อาจมีบางคนไม่คุ้นชินบ้างค่ะ แต่ก็ไม่ใช่คำยากเย็นมากนัก เพราะคำนี้ถือว่าใกล้เคียงคำว่า "สรรพ" ในคำที่เราคุ้นชินอย่าง "ห้างสรรพสินค้า" ซึ่ง "สรรพ" มีความหมายว่าทุกสิ่ง หรือทั้งหมด นั่นเองค่ะ (ส่วนตัวสรรพางค์จะหมายถึง "ทั่วตัว" แต่ก็จะเห็นว่ามันชี้ถึงทั้งหมด หรือทุกสิ่ง แต่นิยมบ่งใช้กับคำว่า "กาย" มากกว่านั่นเอง ไม่ต่างกันมากนัก)

พออธิบายอย่างนี้แล้วฟังไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ภาษาไทยสนุกตรงนี้แหละค่ะ นิยายไทยถึงน่าสนุกไม่แพ้ที่ไหน เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนนะคะ ^^

1
Esta Em Maho 21 ก.พ. 59 เวลา 22:01 น. 2-1

ขอบคุณมากค่ะ >< โดยส่วนตัวเราชอบเสน่ห์ของภาษาตรงนี้แหละ คือสามารถแตกคำ หาความหมายต่อไปได้อีก ภาษาที่เราแกะมันออกมา ก็บอกไปถึงวัฒนธรรมทางภาษา ที่โยงกับที่มาอะไรหลายๆ อย่าง ชอบ 5555

เราก็คงปรับให้น้องๆ เด็กรุ่นใหม่เข้าใจง่ายขึ้นแหละค่ะ ไม่ใช้คำที่คิดว่าเขาไม่เคยเจอเยอะ
แต่ก็คงใช้บ้าง (เพราะความชอบส่วนตัว 555 และคิดว่ามันบรรยายได้ตรงตัวกว่า)
จะพยายามใช้บริบทให้น้องเขาเดาความหมายของคำได้ ^^

0
SleepyDevil 20 ก.พ. 59 เวลา 01:29 น. 3

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบนิยายภาษาสวยๆเป็นการส่วนตัวเป็นกำลังใจให้นะครับ แล้วจากหัวข้อกระทู้ที่ถามมาว่านิยายของEnter เป็นแนวไหน ส่วนตัวคิดว่าเป็นแนวเบาสมองไม่มีเน้นความสมจริงสมจัง สามารถจิ้นตัวละครชายกับชายได้ด้วย เท่าที่เคยเห็นๆมานะครับ

1
Esta Em Maho 21 ก.พ. 59 เวลา 21:57 น. 3-1

ขอบคุณนะคะ ^^
ของเรานี่ค่อนข้างจริงจังนิดๆ - -" พอดีปนไซไฟ อิงข้อมูลวิทย์ปัจจุบัน แล้วก็ติดสำนวนภาษาแปลจากพวกวรรณกรรมเด็ก ภาษามันจะนิ่งๆ TT เราคิดว่ามันทำให้น่าเบื่อ พยายามปรับอยู่

0
+ หนูคือตุ๊ดป่า + 20 ก.พ. 59 เวลา 03:30 น. 4

เพิ่งจะว่างมาตอบจริงจังบ้าง ก่อนอื่นขอจับมือในฐานะคนส่งปีแรกเช่นกันค่ะ (ฮา) ประสบการณ์การเขียนกับชั่วโมงบินนิยายของเราก็น้อย อาจจะแนะนำอะไรไม่ได้มาก ขอเสนอแค่ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้นะคะ

ถ้าจากสำรวจหนังสือที่เขาขาย คือแทบจะได้หมดทั้งแฟนตาซีแนวจอมเวทย์ ต่างมิติ ผจญภัย ตลอดจนดาร์กแฟนตาซีทั้งสืบสวนหาความจริงกับแฟนตาซีสยองขวัญ ถ้าสำรวจจากกระแสแฟนคลับ (ดูจากหน้าเพจของเอนเธอร์บุ๊ค) ส่วนมากเป็นเด็กวัยรุ่น...และซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นเด็กม.ต้น ทำให้เราคิดว่าไม่ควรใช้ภาษายากเกินไปจนน้องๆรู้สึกว่าเหมือนอ่านบทเรียนนอกเวลาวิชาภาษาไทย แม้แต่คนที่โตกว่านี้ก็ยังมีหลายคนรู้สึกอยู่เลย คนที่ชอบภาษาสวยมีเยอะ...แต่ไม่ใช่นักอ่านทุกคนค่ะ จนบางทีทำให้รู้สึกว่าฝ่ายชอบภาษาสวยเป็นกลุ่มเฉพาะไปเลย ถ้าต้องการจะเข้าถึงนักอ่านได้อย่างทั่วถึง ควรใช้ภาษาที่กระชับเรียบง่ายแต่กินใจดีที่สุดค่ะ สังเกตมาว่าคำที่ตราตรึงใจคนอ่านส่วนมากมักไม่ใช่คำยากชั้นสูง ส่วนมากเป็นคำง่ายแต่ความหมายคมบาดลึกทั้งนั้น

ส่วนตัวเราแล้วชอบภาษางามชั้นสูงมาตั้งแต่ประถมแล้ว มันเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เราอยากเป็นนักเขียน ทำให้เราอิ่มเปรมเหมือนเสพงานศิลป์เลย ไม่เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างจนยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจและยิ่งกินใจ แต่เวลามาประกวดกับโปรเจ็คต์เพื่อนักอ่านวัยรุ่น ต้องลดทอนสำนวนฟุ่มเฟือยตัวเองไปเยอะมาก คำต้องไม่ยากเกินไป เรานี่ทรมานกับนั่งตัดใจเพียบเลยค่ะ 55555 เพื่อให้มันเรียบง่าย แต่ก็พยายามให้มันเรียบง่ายแบบสละสลวย มีรสชาติ จะได้ไม่ทื่อแข็งกระด้างเหมือนนั่งอ่านสารคดี นึกไม่ออกลองยึดแบบหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชย์ดูนะคะ คุณว.วินิจฉัยกุลยกย่องไว้ประมาณนี้ (ซึ่งเราจำเป๊ะๆไม่ได้ แต่ความหมายไม่ต่างจากนี้เลย)

"ผลงานที่ดีไม่ใช่เขียนเรื่องง่ายด้วยภาษายาก แต่เป็นเขียนเรื่องยากด้วยภาษาง่าย"

ที่เขียนถึงขนาดนี้ไม่ได้แปลว่าเราจะเก่งนะคะ อย่างที่บอกไปว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่ ประกวดเป็นปีแรก เราแค่ศึกษาพอเป็นทฤษฎีแนวทาง...แต่ภาคปฏิบัติต้องรอทีมงานตัดสิน (>_<)// ตื่นเต้นค่ะ เกร็งมากด้วย 55555 ใครจะแย้งแนวคิดเราข้างบนมาก็ได้นะ (แต่ขอเหตุผลประกอบน้า ไม่รับดีเบทด้วยอารมณ์สะใจ :)) เช่นอาจจะเจอนิยายแฟนตาซีที่ภาษาอลังการก็ได้ แต่ผลงานที่ชนะปีก่อน (ที่เราไม่ได้อ่านมาทั้งหมด) ดูไม่ได้เน้นเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ที่เขาเน้นคือ ตัวพล็อต เป็นพิเศษค่ะ 

อ่านง่ายและเข้าถึงง่าย คาแรกเตอร์ถูกใจ เนื้อเรื่องชัดเห็นเหตุการณ์ชัดเจน และที่สำคัญคือ สนุกสนานได้โดยไม่ซับซ้อน

ทั้งหมดนี้แค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ อาจมีผิด #ย้ำบ่อยมาก5555 เพราะเราไม่ใช่กรรมการและผู้ที่คลุกคลีกับวงการมาดีพอ มีแต่คาดเดาและอนุมานล้วนๆ ที่เราเขียนไปก็ใช่ว่าจะตรงกับคุณสมบัติที่ระบุมานะคะ ซับซ้อนมาก บรรยายไม่ได้ดูสนุกสนานเลย (ไปทางดาร์ก แต่ก็แอบคาดหวังว่าความดาร์กจะทำให้เขามีความรู้สึกอยากติดตามหรือไม่ ถ้าใช่มันก็คือความสนุกรูปแบบหนึ่ง) 

ตอนนี้ก็เขียนตอนต่อไปรอไปพลาง ถ้าไม่ผ่านก็อย่าทิ้งเรื่องของเราเลยนะคะ เสียดายพวกนางที่อุตส่าห์เกิดมาเป็นตัวละครทั้งที ยังมีหนทางส่งในฐานะหนังสือตีพิมพ์ (ไม่ใช่ผู้ประกวด) ถ้าไม่ผ่านไม่ได้แปลว่านิยายของเราแย่ อาจจะแค่ไม่ตรงกับคอนเช็ปต์ของการประกวดก็ได้ ลองปรับจุดที่คิดว่าไม่ดีเล็กๆน้อยๆ ก่อนเข้าสำนักพิมพ์รอฟังคอมเม้นต์ของเขาดูนะคะ ไม่ต้องเสียใจ แอบรู้มาว่าคนส่งงานครั้งนี้มีตั้ง 300-500 งาน ยังมีคนร่วมชะตากรรมเดียวกับเราอีกเป็นร้อยๆนะจ๊ะ สู้ต่อไปค่ะทุกคน 



3
Esta Em Maho 20 ก.พ. 59 เวลา 11:56 น. 4-1

//จับมือ ครั้งแรกเช่นกันค่ะ ครั้งแรกที่ส่งสนพ.ในฐานะเรื่องยาวด้วย 555
ไม่เป็นไรนะคะ ไม่ซีเรียส ตามหัวข้อกระทู้เลยค่ะ อยากให้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

เราเองก็อ่านมาเยอะ แต่พอมาเขียนเองก็ได้รู้ว่า การอ่านมาเยอะมันเปิดโลกเยอะขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะเขียนเก่งเขียนเทพทันที 5555 ทักษะเขียนอยู่แยกกับการอ่านสะสม
(แต่เราก็คิดว่า ระหว่างเขียน 10 ครั้ง กับเขียน 10 ครั้ง + อ่านมาเยอะ อย่างหลังจะได้เปรียบกว่า)

เราเองเวลาจะเสนอความเห็นใครก็เกร็งๆ 55555 เสนอไปในฐานะนักอ่าน แต่ทักษะเขียนตัวเองยังง่อยอยู่อย่างนี้ อะไรแบบนั้น

ทำใจยากจริงๆ ค่ะ คือเราชอบภาษาเขียน ที่เป็นภาษาบรรยายโดยเฉพาะ ไม่ใช่ว่าเพราะมันดูยาก ดูสวย
แต่สำหรับเรา มัน'เจาะจง' ค่ะ เรารู้สึกว่าพอใช้คำนี้คำเดียวมันตรงตัวกว่า อะไรแบบนั้น
แต่ประโยชน์แบบนี้จะตกไปในทันที ถ้าหากว่าคนอ่านไม่รู้ความหมายของคำนั้นๆ

อย่างคำที่เรายกมา สรรพางค์กาย เราใช้คู่กับกาย ตอนแรกก็ลังเล พอรู้อยู่ว่าเด็กวัยรุ่นน่าจะรู้สึกว่ามันช่าง วรรณคดีจ๋าไป แต่ใช้คู่กับกาย...คงไม่เป็นไรมั้ง น่าจะพอเดาได้ ก็เลยใส่ลงไปค่ะ


"...พวกเธอกระโจนหลบหลีกท่อนไม้ขนาดมหึมาที่ขยับฟาดฟัน

เสียงแหวกอากาศสะท้านความรู้สึกไปทั่วสรรพางค์กาย

จิตใต้สำนึกของผมตื่นรู้ในทันใด ว่าไม่อาจเอาชนะอสุรกายพฤกษาเหล่านี้ได้เลย..."


มาจากตรงนี้แหละค่ะ สำหรับเราเอง เราคิดว่า พล็อตแบบเราๆ กับภาษาบรรยายแบบนี้แหละคือเรา
แน่นอนเราปรับลดลง และพยายามหักห้ามใจเพื่อการพัฒนาอยู่ 5555 คือเราคิดว่าการเขียนที่ดี จะพึ่งแต่เลือกใช้คำยากๆ สวยๆ อย่างเดียวไม่ได้เช่นกันค่ะ :) เคยเจอนิยายเรื่องหนึ่ง ภาษาสวยทั้งเรื่อง แม้กระทั่งคนอ่านวรรณคดีอย่างเรา ยังสับสนจนอ่านต่อไม่ได้ TT (แต่ที่แย่กว่าคือติดสำนวนแปล เป็นภาษาไทยแบบไม่ไทย เหมือนเป็นภาษาแปลมาจากอังกฤษ ซึ่งอ่านแล้วงงมาก กำลังแก้อย่างพยายามยิ่ง TT) แต่ถ้าตัด'ภาษาแบบเรา'ออกหมด เราจะไม่เหลืออะไรเลยค่ะ 5555555555555555
(นิยายรักก่อนหน้านี้ ภาษาเหมือนคนละคนเลย เลวร้ายมาก เหลือความเป็นตัวเราแค่พล็อต)


มีนักเขียนท่านหนึ่งเคยบอกเราไว้ว่า ส่งประกวดทำให้เต็มที่ ไม่ได้ไม่เป็นไร อย่างน้อยเราจะมีในคลังของเราอีกหนึ่งเรื่อง ซึ่งเราอาจเสนอสนพ.อื่นๆ หรือแม้กระทั่งตีพิมพ์เอง สำหรับผู้ที่สนใจได้อีก
เป็นกำลังใจให้เช่นกันค่ะ ขอบคุณมากนะคะ :)

ปล. 2 กระทู้นี้ดีงามมาก รู้สึกขอบคุณที่ตัวเองตั้ง ได้เจอนักเขียนชอบภาษาแบบนี้ เหมือนเจอที่อ่านนิยายแบบที่ชอบเพิ่มหลายที่ 55

0
a.Prompiriya 20 ก.พ. 59 เวลา 21:37 น. 4-2

อ่านไม่งงนะครับ
ผมว่าอายุผมไม่เยอะนา ก็อ่านลื่นไหลดีอยู่ อายุผมไม่เยอะจริงๆ นะ (ฮา)

0
+ หนูคือตุ๊ดป่า + 21 ก.พ. 59 เวลา 03:39 น. 4-3

ความรู้สึกเดียวกันค่ะ 55555 ถ้าใช้ศัพท์สูงเพื่ออธิบายคำบางคำเราไม่ว่าเป็นไร ที่ยกตัวอย่างมาก็ไม่ยากเกินไปเลยนะคะ อีกเรื่องหนึ่งคือห่วงเรื่องสำนวนเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว จริงๆให้โดดเด่นกว่าชาวบ้านก็ยากนะ แต่กลวิธีเขียนที่พอจะเป็นเทรดมาร์กของเราได้ด้วย เราว่าจะใช้ศัพท์สละสลวยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่ค่ะ แต่ก็ต้องปรับบ้างอะไรบ้าง ห่วงตรงปรับแล้วมันกลายเป็นไม่ใช่เราเนี่ยแหละ

เป็นนักเขียนมันยากตรงนี้ค่ะ ทุกคนมีตราชั่งอยู่ไว้ใส่ "ความชอบเอกลักษณ์ส่วนตัว" กับ "ส่วนรวม" ฝั่งละข้าง เราจะทำให้มันบาลานซ์ได้อย่างไร

เราชอบอ่านอะไรที่เป็นร้อยแก้ว แต่มีลักษณะคล้องจองกันแบบร้อยกรอง หรือเหมือนแต่งกลอนในบทความไปในตัว (พูดนะง่ายแต่ทำอ่ะยาก และเป็นคนเขียนเขียนให้คนอ่านเข้าใจทั่วถึงกันยิ่งยากกว่า) ส่วนเรื่องอ่านนั้นเห็นด้วยเลยค่ะ ต้องคลุกอยู่กับบทเขียนที่มีเนื้อหาหรือสำนวนที่เข้ากับนิยายที่เขียนอยู่ ถึงจะอิน ตอนพยายามแต่งนิยายพีเรียดของอังกฤษวิคตอเรียน เราจะเทียบยุคสมัยได้กับรัชกาลที่5 ก็ไปหาบทความบันทึกหรือจดหมายของบุคคลในสมัยนั้น ไว้ซึมซับภาษาไปในตัว ว่าเขาพูดและเขียนกันยังไง (แต่ก็ระวังเรื่องสุภาษิตคำเปรียบเปรยอยู่นะ เอามะพร้าวไปขายสวน พอเป็นอังกฤษต้องเรียกขนถ่านหินไปที่นิวเเคสเซิล) แต่ข้อเสียคือดันมาคุยกับเพื่อนด้วย เพื่อนงง แกเป็นอะไร

ตลกจัง

0